วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน





ลักษณะวิสัย  พืชน้ำ






                                                                ราก





                                                             ลำต้น





ใบ





ดอก





ผล





เมล็ด



ชื่อวิทยาศาสตร์                Nymphaea lotus Linn.

วงค์                               NYMPHAEACEAE

ชื่อสามัญ                        lotus



การใช้ประโยชน์
    -    ไม้ประดับ
    -    ก้านใบและก้านดอก ทำกระดาษ และเส้นใยใช้ทำไส้ตะเกียง
    -    บูชาพระ
    -    เปลือกเมล็ดบัวแห้ง และฝักแก่ทำปุ๋ย
    -    เครื่องสำอาง
    -    สมุนไพร
    -    บริโภค

ส่วนที่ใช้บริโภค เม็ดบัว รากบัว ไหลบัว สายบัว ใบอ่อน
การปรุงอาหาร
    -    เม็ดบัว สามารถนำมากินได้ทั้งสดและแห้ง เม็ดบัวมีปริมาณสารอาหารที่สำคัญ คือ โปรตีน ประมาณ 23 % ซึ่งสูงกว่าข้าวถึง 3 เท่า และเป็นแหล่งรวมธาตุ อาหารหลายชนิดด้วยกัน เม็ดบัวนำมาประกอบอาหารได้ทั้งคาวหวาน เช่น สังขยา เม็ดบัว ขนมหม้อแกงเม็ดบัว เม็ดบัวเชื่อม สาคูเม็ดบัว เป็นต้น
    -    รากบัว นิยมนำมาเชื่อมแห้งกินเป็นของหวาน
    -    ไหลบัว สามารถนำมาประกอบอาหารได้ทั้งสด ทั้งแห้ง โดยมากจะนำมาแกงส้ม แกงเลียง ผัดเผ็ดต่าง ๆ
    -    สายบัว สามารถปรุงอาหารแทนผักได้หลายชนิด ทั้งแกงส้มสายบัว แกงสายบัวกับปลาทู ฯลฯ
    -    ใบอ่อน สามารถนำมากินเป็นผักสดแกล้มน้ำพริก
สรรพคุณทางยา
    -    รากบัว นำไปต้มกับน้ำตาลกรวด แก้ร้อนใน ชาวอินเดีย จะให้เด็กดื่มน้ำรากบัว เพื่อระงับอาการท้องร่วง
    -    สายบัว กินเพื่อแก้อาการท้องร่วง
    -    ใบบัว นำมาหั่นฝอย ๆ ชงดื่มแทนน้ำชา ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำได้เป็นอย่างดี
    -    เกสรบัว  ส่วนของเกสรสีเหลือง สามารถใช้เข้าเครื่องยาทั้งไทยและจีน โดยเฉพาะยาลม ยาหอม ยาบำรุงหัวใจ และยาขับปัสสาวะ
    -    ดีบัว เป็นส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ภายในเม็ดบัว มีรสขมจัด สามารถนำมาเป็นส่วนผสมของยาโบราณ มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้
แหล่งที่พบ  พบทั่วไปทุกภาค
ความมงคล
บัวหลวง นับว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคนไทยก็ยังนิยมนำดอกบัวหลวงมาใช้บูชาพระ  ยากที่จะหาไม้ดอกชนิดอื่นมาทดแทนได้ ซึ่งบัวที่นิยมนำมาไหว้พระก็ได้แก่ บัวหลวง บัวหลวง นอกจากดอกที่มีคุณค่าแล้ว ส่วนอื่นๆของบัวหลวงก็มีคุณค่าไม่แพ้ดอก ซึ่งแต่ละส่วนก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น



อ้างอิง   http://www.the-than.com/FLower/Fl-1/4/4.html



QR Code 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น